นายศุภพงษา จันทรังษ์ (L.T.)
ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 6 ปฏิบัติหน้าที่
ผอ.สลข.นครราชสีมา เขต 6
นายธนภัทร สิริวาส (A.L.T.C.)
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 6 ปฏิบัติหน้าที่
รอง ผอ.สลข.นครราชสีมา เขต 6
นายคมกฤช มุมไธสง (L.T.C.)
ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
admin / webmaster
มาตรา ๓๕ ให้มีสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารงานลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษานั้น
มาตรา ๓๖ ให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย
(๑) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรของทุกอําเภอในเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้กํากับการสถานตำรวจนครบาลของทุกสถานีในเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๓) กรรมการประเภทผู้แทน ได้แก่ ผู้แทนองค้กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน ผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา ผู้แทนศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอําเภอ ผู้แทนค่ายลูกเสือ และผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ ซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่กินเจ็ดคน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยคําแนะนําของกรรมการตาม (๒) และ (๓) ในจํานวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกกรรมการตาม (๓) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
มาตรา ๓๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับกับวาระการดํารงตําแหน่งและการพนจากตําแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๓๖ (๓) และ (๔) โดยอนุโลม
มาตรา ๓๘ ให้คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามีอํานาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่การศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือ
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมลูกเสือทั้งในและนอกสถานศึกษา
(๔) ควบคุมดูแลทรัพย์สินในกิจการของลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) พิจารณารายงานประจําปีของสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและรายงานให้คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดทราบ
(๖) ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการประจําปี
(๗) ให้คําแนะนําแก่ผู้อํานวยการสถานศึกษาในการปฏิบัติงานหรือจัดกิจกรรมลูกเสือ
(๘) จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกเสือ
(๙) กํากับดูแล สนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้านในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ เพื่อความเหมาะสมแก่การปกครองในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
มาตรา ๓๙ ให้มีสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น โดยมีผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหัวหน้าสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาบังคับบัญชา และรับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และให้รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสํานักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา