การดำเนินการเพื่อขอรับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน

ขั้นตอนการดำเนินการ

  1. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือโรงเรียนนำเสนอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเสนอหนังสือขอรับการประเมิน การตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและเมินผล โดยระบุประเภทของลูกเสือ ถึงผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เสนอต่อผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด โดยขอให้ส่งผู้ทรงคุณวุฒิมาตรวจขั้นที่ 5 เป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ก่อนถึงวันให้ไปทำการตรวจ ในหนังสือนั้น ให้ระบุไว้ด้วยว่าพร้อมที่จะให้ ไปตรวจในวันใด หรือช่วงเวลาใด
  2. ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน การตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและเมินผล ให้เป็นผู้ไปทำการตรวจตามวัน หรือช่วงเวลาที่ผู้ขอมา (ในการนี้จะนัดวันที่จะไปดำเนินการตรวจที่แน่นอน)
  3. สำนักงานลูกเสือจังหวัด แจ้งให้โรงเรียนที่ขอรับการประเมินทราบ เตรียมรับการประเมิน
  4. การรายงานผลการตรวจขั้นที่ 5 เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิไปตรวจขั้นที่ 5 ให้แก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือคนใดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้รายงานผลการตรวจเสนอผู้บังคับบัญชาที่มอบหมายให้ไปตรวจพิจารณา และเสนอผลการตรวจ ขึ้นไปตามลำดับขั้น จนถึงเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเพื่ออนุมัติ
  5. เมื่อสำนักงานลูกเสือแห่งชาติพิจารณาอนุมัติแล้ว ส่งสำเนาสั่งแต่งตั้งและหนังสือสำคัญแต่งตั้งให้สำนักงานลูกเสือจังหวัด
  6. สำนักงานลูกเสือจังหวัดส่งคำสั่งแต่งตั้งและหนังสือสำคัญให้สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อส่งต่อให้โรงเรียน และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การปฏิบัติการก่อนที่จะขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาตรวจ

  1. เมื่อผู้บังคับบัญชาที่ได้ผ่านการฝึกอบรมขั้นที่ 4 (A.T.C.) มาแล้ว ให้นำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรม ไปดำเนินการในกองลูกเสือของตน เป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือน นับจากวันสิ้นสุดการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.)
  2. เมื่อครบเวลา 4 เดือนแล้ว และผู้บังคับบัญชานั้นรู้สึกตัวว่าพร้อมที่จะได้รับการตรวจขั้นที่ 5 ได้แล้ว ให้เสนอรายงานตามลำดับชั้นจนถึงผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด ขอให้กรรมการผู้ทรง คุณวุฒิมาตรวจและประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยแนบหลักฐานคือ แบบ ลส.13 และวุฒิบัตรการผ่านการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง ( A.T.C.)
  3. การเสนอรายงานขอให้มีการตรวจขั้นที่ 5 ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล จะต้องดำเนินการภายใน กำหนดเวลา 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.)

การเตรียมการเพื่อรับการตรวจ

  1. ต้องฝึกอบรมลูกเสือในกองของตนไว้ให้พร้อม
  2. เตรียมงานด้านธุรการไว้ให้เรียบร้อย เช่น เอกสารหลักฐาน ใบสำคัญต่างๆ ให้เป็นปัจจุบัน
  3. เตรียมสนามฝึก อุปกรณ์การฝึกอบรม เสาธงประชุมกอง หีบอุปกรณ์ไม้พลอง ไม้ง่ามเชือก รอก ไม้ทูนศีรษะ เชือกกระโดด ลูกบอล ฯลฯ
  4. เตรียมฝึกระเบียบแถว การสวนสนาม (สำหรับลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ)
  5. การประชุมนายหมู่ (เตรียมพร้อมที่จะสาธิตให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินด้วย)

คุณสมบัติของผู้รับการตรวจ

  1. บุคคลนั้นต้องผ่านการฝึกอบรม ขั้นที่ 1, 2, 3 และ 4 มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน และไม่เกิน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.)
    • ขั้นที่ 1 คือ ขั้นความรู้ทั่วไป ระยะเวลาการฝึก 1 วัน
    • ขั้นที่ 2 คือ ขั้นความรู้เบื้องต้น ระยะเวลาฝึก 3 – 4 วัน
    • ขั้นที่ 3 คือ ขั้นฝึกหัดงาน ระยะเวลาการฝึก 4 เดือน
    • ขั้นที่ 4 คือ ขั้นความรู้ชั้นสูง ระยะเวลาฝึก 7 – 8 วัน
    • ขั้นที่ 5 คือ ขั้นปฏิบัติการและประเมินผล หลังการฝึกอบรม ขั้น 4 มาแล้ว 4 เดือน
  2. เป็นบุคคลที่มีกองลูกเสือเป็นของตนเอง หากมีลูกเสือ จำนวน 2 หมู่ขึ้นไป ต้องขอจัดตั้งกองลูกเสือ ในโรงเรียนของตนเอง หรือไปช่วยฝึกลูกเสือในกองลูกเสืออื่นเป็นประจำ ในกรณีที่ไม่สามารถตั้งกองลูกเสือได้ หรือ โรงเรียนไม่มีการจัดกิจกรรมลูกเสือในประเภทที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) มา หรือผู้มีหน้าที่ควบคุมกองลูกเสือตามสังกัด
  3. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางลูกเสืออยู่ในปัจจุบัน โดยมีใบแต่งตั้งให้มีตำแหน่งทางลูกเสือตามแบบ ลส. 13 เป็นหลักฐาน (ต้องมีตำแหน่งอยู่ในกองลูกเสือที่จะขอรับการตรวจขั้นที่ 5)

ลำดับขั้นตอนการตรวจ มีดังต่อไปนี้

  1. งานด้านธุรการของกอง
    1.1 ทะเบียนลูกเสือ ได้จัดทำไว้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันหรือไม่
    1.2 หลักฐานการสอบไล่หรือสอบวิชาพิเศษลูกเสือ ได้ทำไว้เรียบร้อยเพียงไร
    1.3 หลักฐานการเงิน การบัญชี บัญชีทรัพย์สินของกองลูกเสือ ได้จัดทำไว้เรียบร้อยอย่างไร
    1.4 สมุดบันทึกการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีหรือไม่ มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบกันอย่างไร ตลอดจนการประชุมนายหมู่มีหรือไม่และเรียบร้อยเพียงไร
    1.5 สมุดบันทึกการประชุมกองของผู้บังคับบัญชามีครบทุกคนหรือไม่ ต้องมีบันทึกการประชุมกอง มาแล้วไม่น้อยกว่า 16 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
    1.6 สมุดหมายเหตุรายวันของกองได้จัดทำขึ้นหรือไม่ และเรียบร้อยเป็น ปัจจุบันเพียงใด
    1.7 สมุดประวัติของกองลูกเสือ (สมุดปูม) ได้จัดทำขึ้นหรือไม่ และเรียบร้อยเป็นปัจจุบันเพียงใด โดยให้มีประวัติของกองลูกเสือนั้นไว้ว่า กองลูกเสือกองนี้ จัดตั้งขึ้นเมื่อไร ใครเป็นผู้ก ากับคนแรก ใครเป็นรองผู้กำกับ มีจำนวนลูกเสือครั้งแรกกี่คน ปัจจุบันเป็นอย่างไร
    1.8 เอกสารที่จำเป็นต้องนำเสนอให้ตรวจ ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ ลส.3 ใบอนุญาตตั้งกองลูกเสือ ลส.12 ใบอนุญาตตั้งกลุ่มลูกเสือ ลส.11 ใบแต่งตั้งผู้กำกับและรองผู้ก ากับลูกเสือ ลส.13 และใบเสร็จรับเงินลูกเสือ ลส.19
    1.9 งานสารบรรณของกอง การเก็บเรื่องต่างๆ ได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแผนหรือไม่
  2. งานด้านวิชาการ
    2.1 ให้ผู้รับการตรวจขั้นที่ 5 สาธิตการฝึกอบรมลูกเสือตามประเภทลูกเสือที่ ขอรับการตรวจ ให้ผู้ตรวจดู 1 ครั้ง โดยเริ่มจากพิธีเปิดประชุมกอง จนถึงพิธีปิดประชุมกอง ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 60 นาที ในการสาธิต การฝึกอบรมนี้ ผู้ตรวจจะต้องตรวจดูอย่างละเอียดว่า ผู้รับการตรวจปฏิบัติถูกต้อง ตามขั้นตอนที่บันทึกในแผนการประชุมกองหรือไม่ อย่างไร
    2.2 สมุดสะสม (เฉพาะลูกเสือสำรอง) ตรวจสมุดสะสมของกองลูกเสือสำรองอย่างน้อย หมู่ละ 1 เล่ม
    2.3 การสวนสนาม (เฉพาะลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ) ตรวจดูความถูกต้อง ของการจัดขบวนสวนสนาม เครื่องแบบ ระเบียบ วินัย การสั่งแถว ความสง่าผ่าเผย เป็นอย่างไร
    2.4 การฝึกระเบียบแถว (เฉพาะลูกเสือสำรอง)
    2.5 การสาธิตการประชุมนายหมู่ (เฉพาะลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ) ปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่เพียงไรการสวนสนามและการประชุมนายหมู่ให้ใช้เวลาปฏิบัติให้ดูอย่างน้อย กิจกรรมละ 15นาที
  3. การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จะดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจขั้นที่ 5 อย่างน้อย คนละ 10 ข้อ

หมายเหตุ

  • เอกสาร ข ค กรอก ทำเป็นชุดคนละ 3 ชุด พร้อมสำเนาถูกต้องและแนบสำเนาเอกสาร ดังนี้
    • สำเนาวุฒิบัตรขั้นความรู้ทั่วไป
    • สำเนาวุฒิบัตรขั้นความรู้เบื้องต้น
    • ใบผ่านการฝึกฝึกงานขั้น 3
    • สำเนาวุฒิบัตรขั้นความรู้ชั้นสูง
    • ลส.13
  • เอกสารที่โรงเรียนต้องเตรียม
    • บันทึกการประชุมนายหมู่
    • บันทึกการประชุมผู้กำกับ
    • เอกสารใบสมัครลูกเสือ
    • เล่มทะเบียนทองลูกเสือ
    • สมุดบูม
    • แผนการสอนระยะสั้น
    • แผนการสอนระยะยาว
    • ลส.11 , 12 , 19

Loading

Message us