หลักการของคณะลูกเสือแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ วิธีการฝึกอบรม อุดมการณ์
วัตถุประสงค์และอุดมคติของการฝึกอบรมลูกเสือของคณะลูกเสือแห่งชาติ 5 ข้อ
- ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง
- ให้ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเป็นใจผู้อื่น
- ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
- ให้รู้จักทำการฝีมือ์
- ให้มีการพัฒนากาย จิตใจ และศีลธรรมทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องลัทธิการเมืองใด ๆ
วิธีการฝึกอบรม 3 ข้อ
- สมาชิกของลูกเสือเป็นด้วยความสมัครใจ มีผู้ใหญ่แนะนำและเพิ่มวิธีฝึกอบรมตามอายุที่มากขึ้น
- สมาชิกได้ปฎิบัติกิจกรรมตามที่ตนถนัดและได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
- สมาชิกได้ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกความเชื่อมั่นการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และร่วมงานกับผู้อื่น
อุดมการณ์ คือ การปฎิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อกิจการลูกเสือ
- ให้นักเรียนทุกคนเป็นลูกเสือตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาภาคบังคับ
- กิจการลูกเสือเป็นกิจกรรมบังคับของนักเรียนทุกคนและทุกโรงเรียน
- กำหนดเรื่องการยกเว้นเครื่องแบบลูกเสือของนักเรียนโดยให้มีผ้าผูกคอเป็นสัญลักษณ์
- หน่วยงานหรือสถานศึกษาจัดให้มีการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือให้มีวุฒิทางลูกเสือทุกคน
- ให้มีการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษสำหรับครูที่ฝึกอบรมลูกเสือ
- สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี และ/หรือยุวกาชาดเพื่อพัฒนาผู้เรียน
- สถานศึกษาทุกแห่งจัดตั้งกองลูกเสือ-เนตรนารี อย่างถูกต้องและครบถ้วน
- สถานศึกษาขนาดกลาง ขนาดใหญ่ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมยุวกาชาดและจัดตั้งหมู่ยุวกาชาด
- สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี และยุวกาชาดอย่างจริงจัง และครบถ้วนถูกต้องตามกระบวนการ
- สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมลูกเสือ – เนตานารี และยุวกาชาดตามตารางการจัดกิจกรรมประจำสัปดาห์ของสถานศึกษาทุกครั้ง โดยไม่นำคาบกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี และยุวกาชาดไปปฏิบัติกิจกรรมอื่น เช่น ประชุมครู เป็นต้น
- ผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกคนต้องมีคุณวุฒิทางลูกเสือ ขั้นวูดแบดจ์ 2 ท่อน ขึ้นไป
- ครูทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ หรือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตรผู้นำยุวกาชาด อย่างน้อยหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง
- ในวันที่สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารีหรือยุวกาชาด ผู้อำนวยการสถานศึกษาทุกคนต้องเป็นผู้นำในการแต่งเครื่องแบบลูกเสือหรือยุว กาชาด
- สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางลูกเสือ – เนตรนารี และยุวกาชาด
สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 35 ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อการบริหารงานลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษานั้น มาตรา 36 ให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และ มาตรา 39 ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นั้น โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานลูกเสือเขต พื้นที่การศึกษาบังคับบัญชาและรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา และให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การ ศึกษา
เว็บไซต์ สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 ก่อเกิดขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์กิจการลูกเสือของสำนักงานเขต พื้นที่ฯ ให้กับบุคลากรในสังกัดและผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาเนื้อหาสาระที่เกี่ยว กับลูกเสือและเสนอแนวทางการพัฒนากิจการลูกเสืออีกทางหนึ่ง …!