ด้วยคณะรักษาความสงบและ เรียบร้อยแห่งชาติ ได้มีนโยบายในการสร้างค่านิยมของคนไทย ๑๒ ประการ ซึ่งเป็นค่านิยมที่สอดคล้องในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้กำหนดคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของนักเรียน ๘ ประการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างค่านิยมของคน ไทย ๑๒ ประการเป็นอย่างดี เพราะกิจกรรมลูกเสือมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า อีกทั้งกิจกรรมลูกเสือยังเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนได้ หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินกิจกรรมลูกเสือ คือ สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้มีแผนงาน มาตรการและแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาและสำนกงานเขตพื้นที่การ ศึกษา ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานยกระดับคุณภาพการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานจึงมีมาตรการและแนวทางในการดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. ให้สถานศึกษาทุกแห่งถือว่า กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ
๒. ให้สถานศึกษาทุกแห่ง จัดกิจกรรมการเรียนการสอน/ฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ตามหลักการที่กำหนดในหลักสูตร และส่งเสริมการฝึกอบรมลูกเสือวิสามัญในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
๓. ให้สถานศึกษาทุกแห่ง จัดระบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ และจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุน เงินบริจาคและเงินสมทบอื่น ๆ พร้อมทั้งจัดหาสื่อ อุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อดำเนินกิจกรรม
๔. ให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีกิจกรรมการปฏิบัติจริงตามอุดมการณ์และหลักการ ของลูกเสือ เนตรนารี ยุวกชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ส่งเสริมความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตย ความสามัคคีปรองดอง การเสริมสร้างทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์
๕. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือขั้นความรู้ชั้นสูง และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านการฝึกอบรมและมีวุฒิทางลูกเสือ ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๓
๖. ให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ๗. ให้สถานศึกษาทุกแห่งสนับสนุน ส่งเสริมให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรทางการลูกเสือ และลูกเสือ
แนวทางในการดำเนินการตามมาตรการเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและการจัด กิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา
๑. สถานศึกษาต้องกำหนดนโยบาย แนวทางในการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ
๒. ผู้บริหารสถานศึกษา สร้างความตระหนักในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ให้แก่ ครู บุคลากรในสถานศึกษา และให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ แต่งเครื่องแบบลูกเสือ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ลูกเสือในสถานศึกษา
๓. สถานศึกษาต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษา
๔. สถานศึกษาต้องจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางการลูกเสือ ให้เป็นปัจจุบัน อย่างถูกต้องและทันสมัย
๕. สถานศึกษาต้องจัดตั้งกลุ่ม กองลูกเสือ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน และจัดให้มีห้อง/มุม/แหล่งเรียนรู้ทางการลูกเสือในสถานศึกษา
๖. ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือ ขั้นความรู้ชั้นสูงและได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ และได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนและรองผู้ อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
๗. ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านการฝึกอบรม มีวุฒิทางลูกเสือและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือตามข้อ บังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๓
๘. สถานศึกษาต้องจัดทำแผนงาน/โครงการ ในการดำเนินงานทางลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานให้เหมาะสม
๙. สถานศึกษาต้องจัดทำกำหนดการฝึกอบรม และแผนการฝึกอบรมตลอดปีการศึกษาทุกระดับให้ครบถ้วน
๑๐. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ ต้องจัดกิจกรรมตามกำหนดการฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม ตลอดจนดำเนินการวัดประเมินผล และรายงานผลให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
๑๑. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ ต้องจัดให้มีและใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจำเป็นในการฝึกอบรม
๑๒. สถานศึกษาต้องจัดให้มีเอกสาร หลักสูตร คู่มือการปฏิบัติงาน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
๑๓. สถานศึกษาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และจิตสาธารณะ กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ตามคำปฏิญาณและกฎลูกเสือ และกิจกรรมโครงการเพื่อเสริมสร้างค่านิยมหลักของ คนไทย ๑๒ ประการ ปีละไม่น้อยกว่า ๖ กิจกรรม
๑๔. สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมเดินทางไกล และอยู่ค่ายพักแรม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ในสถานศึกษา หรือค่ายลูกเสือตามหลักสูตร ของลูกเสือแต่ละประเภท โดยใช้บุคลากรทางการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ และบุคลากรของสถานศึกษา หรือใช้วิทยากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง
๑๕. ให้สถานศึกษาจัดระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ภายในสถานศึกษา โดยให้มีแผนการนิเทศ เครื่องมือ และกำหนดผู้นิเทศไว้อย่างชัดเจน และจัดทำรายงานประจำปี ต่อผู้บังคับบัญชา/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
๑๖. ให้ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม และสนับสนุนให้ขวัญกำลังใจแก่บุคลากรทางการลูกเสือ และลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสถานศึกษา
๑๗. สำหรับสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมยุวกาชาด และหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางดังกล่าวข้างต้นโดยอนุโลม
แนวทางการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมลูกเสือของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑ การจัดโครงสร้างลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ให้ถูกต้อง ชัดเจนตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบด้วย
๑.๑ ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
๑.๒ จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่ อย่างน้อย ๒ ครั้ง/ปี
๑.๓ ดำเนินการแต่งตั้งผู้ตรวจการฝ่ายต่างๆ ทั้งนี้อาจแต่งตั้งอนุกรรมการในคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่ ตามความเหมาะสม
๑.๔ มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานลูกเสือ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑ อย่างชัดเจน และเร่งรัดการปฏิบัติงานงานให้รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
๒ การวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี
๒.๑ จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปีทางด้านลูกเสือ
๒.๒ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ และการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
๒.๓ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ อบรมทบทวน ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒.๔ จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระดับเขตพื้นที่ ตามความเหมาะสม
๒.๔ ระดมทรัพยากร หรือหาแหล่งงบประมาณในการพัฒนางานลูกเสือ การพัฒนาค่ายลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
๒.๕ สรุปรายงานโครงการตามแผนที่กำหนด เพื่อรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓ การนิเทศ กำกับติดตาม งานลูกเสือ
๓.๑ มอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ รับผิดชอบการนิเทศงานลูกเสืออย่างชัดเจน
๓.๒ จัดทำแผนการนิเทศ เครื่องมือ และดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามมาตรการ และแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา
๓.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านลูกเสือ เพื่อนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนด้านลูกเสือของสถานศึกษา
๓.๔ กำกับดูแลสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง จัดการเรียนการสอนลูกเสือให้ดำเนินไป ตามหลักสูตรทุกระดับชั้น
๓.๕ กำกับ ดูแล การอนุญาตเข้าค่ายพักแรมและการสอบวิชาพิเศษลูกเสือใน สถานศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติฯ วิธีการและกระบวนการทางการลูกเสือ อย่างเคร่งครัด
๓.๖ ให้มีการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
๔ การพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ
๔.๑ สำรวจคุณวุฒิทางการลูกเสือของบุคลากรทางการลูกเสือในสังกัด
๔.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และ บุคลากรทางการลูกเสือได้รับการพัฒนาคุณวุฒิทางการลูกเสือ โดยได้รับ เครื่องหมายวูดแบดจ์ เป็นอย่างน้อย
๔.๓ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือในสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับการสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ตามนโยบาย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเร่งด่วน
๕ การยกย่องเชิดชูเกียรติ
๕.๑ กำหนดให้มีการคัดเลือกสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือ เพื่อรับรางวัลเชิดชูเกียรติ
๕.๑ กำหนดให้มีการคัดเลือกสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน ลูกเสือ และบุคลากรทางการลูกเสือ เพื่อรับรางวัลเชิดชูเกียรติ
๕.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้ความก้าวหน้าในวิชาชีพ แก่ผู้ปฏิบัติงานลูกเสือ
๕.๓ พิจารณาจัดสรรโควตาการเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นกรณีพิเศษให้แก่ผู้ที่มีผลงาน ด้านลูกเสือดีเด่น
๖ การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านลูกเสือ
๖.๑ จัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน
๖.๒ จัดให้มีเว็บไซต์ (Website) ทางการลูกเสือ
๖.๓ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ งานลูกเสือผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร Social Network
หมายเหตุ
- คำว่า “ลูกเสือ” หมายรวมถึง เนตรนารี ยุวกาชาดและสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์
- คำว่า “วูดแบดจ์” หมายความว่า วุฒิทางลูกเสือ
- คำว่า “ยุวกาชาด” หมายรวมถึง ผู้บริหารหรือผู้นำที่การฝึกอบรมตามหลักสูตร
Download เอกสาร
ที่มา : สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน