เกาะบราวน์ซี เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่หน้าปากอ่าวเมืองพูล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษมีความยาวประมาณ 1 1/2 ไมล์ ความกว้างที่สุดประมาณ 3/4 ไมล์ มีเนื้อที่ประมาณ 560 เอเคอร์ (ประมาณ 1,440 ไร่) บนเกาะมีตึกใหญ่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของ มิสเตอร์ชารลส์ แวน ราอาลท์ (Charles Van Raalte) และมีที่ดินส่วนหนึ่งเหมาะสำหรับการอยู่ค่ายพักแรม บี.-พี. ได้เขียนหนังสือถึงเจ้าของเกาะขออนุญาตใช้สถานที่สำหรับพาเด็กมาอยู่ค่ายพักแรม ซึ่งเจ้าของเกาะก็อนุญาตให้ใช้ด้วยความยินดี
ปัจจุบันเกาะนี้เป็นสมบัติของชาติ บี.-พี. จัดการเช่าเต็นท์จากเมืองบอร์นมัธ สำหรับเป็นที่พักและจัดเป็นที่รับประทานอาหารโรงครัว บี.-พี. เช่าเสื่อที่ทำด้วยฟางสำหรับปูนอน เมื่อจัดค่ายเรียบร้อยแล้วเมื่อ บี.-พี. ได้สถานที่แล้วได้รวบรวมเด็กจำนวน 20 คนจากโรงเรียนราษฎร์ อีตัน และ แฮร์โรว์ และจากทิศตะวันออกของนครลอนดอน บี.-พี. ได้แบ่งเด็กออกเป็น 4 หมู่ ๆ ละ 5 คน โดยใช้ชื่อ หมู่ว่า
# หมาป่า (Wolves)
# วัว (Bulls)
# นกเคอร์ลิวส์ (Curlews)
#และ นกราเวนส์ (Ravens)
แต่ละหมู่มีหัวหน้ารับผิดชอบดูแลควบคุม เด็กทุกคนเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นแบบอยู่ค่าย สวมเสื้อเชิ้ตและกางเกงขาสั้น และสวมหมวกปีกพับข้าง ดังมีรายชื่อดังนี้
หมู่หมาป่า (Wolves) ติด Shoulder Knot สีน้ำเงิน
Musgrave C. Wroughton (นายหมู่)
Cedric CurteisJohn Evan-LombeReginald GilesPercy Medway
หมู่วัว (Bulls) ติด Shoulder Knot สีเขียว
Thomas Brian Evans – Lombe (นายหมู่)
Bertie Blandford Marc NobleArthur Primmer James Rodney
นกเคอลิวส์ (Curlews) ติด Shoulder Knot สีเหลือง
George Rodney (นายหมู่)
Terry Bonfield Richard Grant Alan Vivian Herbert Watts
นกราเวนส์ (Ravens) ติด Shoulder Knot สีแดง
Herbert Emley (นายหมู่)
Herbert CollingbourneHumphrey NobelWilliam Rodney Bertie Tarrant
เด็กชื่อ Evans – Lombe, Marc Noble, และ James Rodney และ William Rodney เป็นเด็กที่มาจากโรงเรียนราษฎร์ ส่วน Herbert Emley, Cedric Curteis และ Musgrave C. (Bob) Wroughton, Bertie Blandford, Terry Bonfield, Herbert Collingbourne, Richard Grant, Bertie Tarrant, Alan Vivian และ Herbert Watts เป็นสมาชิกของหน่วยเยาวชน Bourne-mouth 1 ส่วน Giles, Medley และ Primmer ,จากหน่วยเยาวชน Poole 1
คณะผู้ใหญ่ประกอบด้วย Lord Baden-Powell, Donald Baden-Powell, Percy W.Everett, George Walter Green, Kenneth Mclaren, Henry Robson, William Stevens และ An unknown army chef
ในตอนกลางคืนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2450 บี.-พี. ได้จัดให้เด็กไปนั่งรอบกองไฟเป็น ครั้งแรก โดย บี.-พี. ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประชุมรอบกองไฟ มีการร้องเพลงร่วมกัน บี.-พี. ได้เล่าประสบการณ์ของตนในอินเดียและแอฟริกาใต้ให้เด็กทุกคนฟังหลังจากนั้น ได้ชี้แจงถึงแผนรายละเอียดกำหนดการที่ทำในวันต่อไป เป็นการปฐมนิเทศ ก่อนจบการประชุมรอบกองไฟมีการสวดมนต์ ต่อจากนั้นเด็กๆ กลับไปนอนในเต็นท์ ส่วน บี.-พี. กับ พันตรี แมคลาเรน ได้ปรึกษาหารือกันถึงงานที่จะทำต่อไปอีกเล็กน้อยแล้วจึงเข้านอนกำหนดการประจำวัน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม มีดังนี้คือ
– ตื่นนอนเวลา 06.00 น. แล้วปฏิบัติ- ล้างหน้า แต่งตัว ทำความสะอาดที่พัก- ดื่มโกโก้ร้อน 1 ถ้วย
– ชี้แจงกิจกรรมประจำวัน
– การบริหารร่างกายท่ามือเปล่า
– พิธีชักธงขึ้นสู่ยอดเสา
– สวดมนต์
– รับประทานอาหารเช้า
– ทำกิจกรรมร่วมกัน
– รับประทานอาหารกลางวัน
– ทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ
วิชาที่สอน ได้แก่ สัญญาณต่าง ๆ การบุกเบิก การผูกเงื่อน การทำสะพาน การวัดตนเอง การคาดคะเนระยะทาง ความสูง น้ำหนักและจำนวน การอยู่ค่ายพักแรม การสังเกตและจำ และการปฐมพยาบาล เป็นต้น
ในตอนกลางคืน บี.-พี. ได้จัดให้เด็กหมู่หนึ่งทำหน้าที่หน่วยรักษาการณ์ โดยจัดอาหารสดให้ในตอนเย็น แล้วให้ออกไปยังสถานที่กำหนด แล้วกลับมาตอนช้า เด็กต้องนำผ้าห่ม เสื้อหนา ๆ เครื่องครัว และไม้ขีดไปด้วย เพราะหุงหากันเอง ผลัดกันอยู่เวรจนถึงเวลา 23.00 น. จึงเข้านอน
ปรากฏว่าเด็กที่เป็นยามรักษาการณ์ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง เจ้าของเกาะ บุตรชายหญิง พยายามจะผ่านเข้าไป แต่เด็กที่เป็นเวรยามก็จับได้และส่งกลับบ้าน รวมทั้ง บี.-พี. ด้วยวันสุดท้าย บี.-พี. จัดให้มีการแสดงของเด็ก และเชิญแขกคือ บิดามารดา เจ้าของเกาะ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มาชม เด็ก ๆ วางแผนจัดกันเอง ฝึกหัดกันเอง มีการเล่นเกม การแข่งขันประกอบการสาธิตเรื่องปฐมพยาบาล การดับเพลิง การทอเสื่อ และยูโด รายการสุดท้าย เป็นการชักเย่อเมื่อเด็กได้แยกย้ายกันกลับบ้านของตนแล้ว
ต่อมา บี.-พี. ได้รับจดหมาย และความชื่นชมในการอยู่ค่ายพักแรมครั้งนี้จากเด็ก บิดามารดาของเด็ก นอกจากการสนุกสนานแล้วเด็กยังได้รับทั้งความรู้และได้รับการฝึกอบรมนิสัยใจคอให้รู้จักคิดและพึ่งตนเองมากยิ่งขึ้นดังนั้นมูลเหตุของการให้กำเนิดลูกเสือซึ่ง ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ ได้ตั้งขึ้นเป็นเพราะความประทับใจในการปฏิบัติงานของเด็ก
เมื่อคราวสงครามที่เมืองมาฟอีคิง เพราะเด็กที่ท่านทำการฝึกเป็นพิเศษ ในการช่วยรบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงด้วย และเมื่อท่านได้ออกจากราชการครั้งสุดท้ายท่านก็ได้ทำโครงการฝึกเด็กขึ้น ณ เกาะบราว์นซี ซึ่ง บี.-พี. ได้เข้าทำการควบคุมการฝึกอบรมด้วยตนเองตามโครงการที่วางไว้ ปรากฏว่าการฝึกอบรมได้ผลดีสมความมุ่งหมายทุกประการ จึงทำให้ท่านเกิดความบันดาลใจที่จะพยายามเผยแพร่กิจการนี้ให้กว้างขวางออกไปในปี ค.ศ. 1908 (2451) บี.-พี. ได้เขียนหนังสือการลูกเสือสำหรับเด็กชาย (Scouting for Boys) โดยจัดพิมพ์เป็น 6 ตอน ออกพิมพ์จำหน่ายทุก 2 สัปดาห์ ราคาเล่มละ 4 เพนนี เล่มแรกออกจำหน่ายในวันที่ 15 เดือนมกราคม พ.ศ. 2451
เนื้อหาของหนังสือทั้งหมดชี้แจงวัตถุประสงค์ สาระสำคัญ คำปฏิญาณและกฎ คติ รหัส การแสดงความเคารพ การจับมือ เครื่องแบบ และแนวการฝึกอบรมลูกเสือ เยาวชนสนใจอ่านหนังสือชุดนี้มาก จึงมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นหมู่ขึ้น แล้วชักชวนผู้ใหญ่ที่ควรแก่การเคารพนับถือมาเป็นผู้นำ หรือผู้กำกับของเขา เป็นผลให้กิจการลูกเสือเกิดขึ้น กองลูกเสือโดยการนำของ บี.-พี. ก็เริ่มตั้งขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง และจากนั้นมา การลูกเสือจึงได้ขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว ทั่วเกาะอังกฤษ พร้อมกันนี้ ท่านก็ได้วางกฎ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้เครื่องหมายความสามารถของลูกเสือ และได้จัดตั้งสภากรรมการจังหวัดของลูกเสือ (Local Scout Association) ขึ้นด้วย
ต่อมาจึงขยายไปในประเทศเครือจักรภพและประเทศอื่น ๆ เช่น ค.ศ. 1909 (2452) ประเทศชิลี เป็นประเทศในกลุ่มแรกค.ศ. 1910 (2453) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศในกลุ่มที่สองค.ศ. 1911 (2454) ประเทศไทย (สยาม) เป็นประเทศในกลุ่มที่สามพอปี ค.ศ. 1909 (2452) บี.-พี. ได้จัดตั้งเหล่าลูกเสือสมุทรเสนาขึ้นอีกหน่วยหนึ่ง และได้มีการอยู่ค่ายพักแรมขึ้นที่บัลเลอร์ฮาร์ด ในปีนี้เองท่านได้วางมือจากงานราชการทั้งปวง ได้เสียสละความสุขส่วนตัวมาทุ่มเทให้กิจกรรมลูกเสืออย่างเต็มที่ กับได้เริ่มทำสำมะโนลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก ปรากฏว่ามีลูกเสือทั้งสิ้น 109,000 คนปี ค.ศ. 1911 (2454) ท่านได้เดินทางออกตรวจการปฏิบัติกิจการของลูกเสือ และได้ให้คำแนะนำในเรื่องการลูกเสือทั่วประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาถึงอังกฤษท่านได้จัดงานชุมนุมลูกเสือครั้งแรกที่ Windsor Great Park มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 30,000 คน ในงานนี้พระเจ้ากรุงอังกฤษได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรด้วยในปี ค.ศ. 1912 (2455) รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ ได้ประกาศรับรองกิจการลูกเสือขึ้นอย่างเป็นทางการ พร้อมกับได้ออกกฎหมายคุ้มครองด้วย จากนั้นกิจการลูกเสือก็ได้เจริญเติบโตแพร่หลายขยายวงออกไปเป็นลำดับคติพจน์ที่ท่าน บี.-พี. ได้ให้ไว้แก่กิจการลูกเสือคือ “Be Prepared” “จงเตรียมพร้อม”
ที่มา : Sommart Sungkapun