วันกำเนิดลูกเสือวิสามัญ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต ขอขอบคุณภาพจาก สสส.

18 มีนาคม นับเป็นวันกำเนิดลูกเสือวิสามัญ มีการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ ณ ค่ายลูกเสือกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระหว่างวันที่ 5 – 12 ธันวาคม 2503

ทางสภากรรมการกลางฯ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ลูกเสือรวม 11 คน ไปรับการฝึกอบรมด้วย คือ

1. นายบุญยัง ทรวดทรง ผู้ตรวจการลูกเสือโรงเรียนวัดมกุฎกษัตริย์
2. นายพา ไชยเดช ผู้ตรวจการลูกเสือโรงเรียนอำนวยศิลป์
3. นายเจริญ อ่วมประยูร ผู้ตรวจการลูกเสือโรงเรียนการช่างอินทราชัย
4. นายบุตร วุฒิมานพ ผู้กำกับลูกเสือวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. นายอารีย์ สุจริยวงศ์ กรรมการลูกเสือ อำเภอหนองจอก
6. นายชาญ นวลศรี กองอำนวยการสภากรรมการกลาง ฯ
7. นายบุญส่ง เอี่ยมละออ กองอำนวยการสภากรรมการกลาง ฯ
8. นายสง่า เล็กเลอพงศ์ ผู้กำกับลูกเสือโรงเรียนวัดสิทธาราม
9. นายเสมือน พิชิตกุล ผู้กำกับลูกเสือโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร
10. นายบุญทัน ฉลวยศรี ผู้กำกับลูกเสือจังหวัดอุบลราชธานี
11. นายเฉลิม ศุขเสริม ผู้กำกับลูกเสือจังหวัดอุบลราชธานี

นับเป็นลูกเสือวิสามัญ คณะแรกของไทย ต่อมามีจัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ Rover Scout เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2506 และมีการเปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ ครั้งแรก ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ในปี 2506

พ.ศ. 2514 มีการประชุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองคณะลูกเสือไทย มีอายุครบ 60 ปี และมีการชุมนุมลูกเสือวิสามัญ ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดนครปฐม ลูกเสือวิสามัญ (Rover Scouts) กิจการลูกเสือวิสามัญเกิดขึ้นเมื่อเด็กวัยหนุ่มใหญ่ (อายุระหว่าง 17 – 21 ปี) ต้องการที่จะเข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมที่ท้าทายเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของตนเอง ดังนั้นในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ จึงได้จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญขึ้น แต่ให้ชื่อในตอนแรกที่ตั้งนั้นว่า Senior Scouts และได้ทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Rover Scouts ในปี ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) พอในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) บี.-พี. ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับลูกเสือวิสามัญขึ้นเล่มหนึ่งโดยให้ชื่อว่า Rovering to success ได้อธิบายถึงจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของกิจการลูกเสือวิสามัญไว้อย่างกว้างขวาง และในปี ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) ได้มีการชุมนุมลูกเสือวิสามัญโลก (World Rover Moot) เป็นครั้งแรกที่เมือง Kandersteg ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีลูกเสือวิสามัญเข้าร่วมงานชุมนุมประมาณ 3,000 คน ประเทศสมาชิกต่าง ๆ จึงให้การรับรองกิจการลูกเสือวิสามัญตั้งแต่นั้นมา กิจกรรมลูกเสือวิสามัญจะให้ความสนุกสนาน มิตรภาพ เพื่อน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การผจญภัย การท่องเที่ยว การทัศนาจรและ อื่น ๆ ตลอดจนโอกาสที่จะบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยการให้ “บริการ” ซึ่งการให้บริการนี้มิได้ให้ความพึงพอใจแก่ตัวเองเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ทำกิจกรรมเกิดความซาบซึ้งและมีความเข้าใจถึงความต้องการอันจำเป็นของผู้อื่น และยังมีโอกาสที่จะได้ช่วยพัฒนาชุมชนอีกด้วย

ที่มา : ชมรมลูกเสือสี่ท่อนแห่งประเทศไทย

Loading

Message us