ไม่ว่าประเทศใดในโลกที่มีกิจการลูกเสือของตน จะมีการแบ่งประเภทเอาไว้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งบางอยางอาจถูกปรับเปลี่ยนไปบางตามลักษณะสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งประเภทลูกเสือตามเกณฑ์อายุ ด้วยการที่คำนึงถึงพัฒนาการทางรางกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม เพื่อไม่ให้ฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งสามารถทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมากแล้วทั่วโลกจะมีการแบงประเภทลูกเสือเป็น 2 แบบใหญ่ คือแบบอังกฤษ ซึ่งถือเอาฃแบบแผนตามที่ BP เคยปฏิบัติเอาไว้ กับแบบอเมริกา ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย
สำหรับประเทศไทยนั้นยึดถือตามแบบอังกฤษ คือ
1. ลูกเสือสำรอง เนตรนารีสำรอง
2. ลกเสือสามัญ เนตรนารีสามัญ
3. ลกเสอสามัญรุ่นใหญ่ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
4. ลูกเสือวิสามัญ เนตรนารีวิสามัญ
แต่ที่พิเศษประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี ลูกเสือชาวบ้าน
หมายเหตุ
* การกล่าวถึงลูกเสือประเภทต่างๆนั้น จะหมายรวมเอาเนตรนารีเข้าไปด้วย เพราะเนตรนารีได้ถูกระบุตามกฎหมายว่าเป็น ลูกเสือหญิง (เด็กนักเรียนหญิงที่มีชั้นปีการศึกษาและอายุตามเกณฑ์ในการเป็นลูกเสือ) จะต่างกันที่เครื่องแบบ และวิชาการฝึกบางวิชาเท่านั้น
* ลูกเสือหญิง ที่แท้จริงแล้วคือระดับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่ต้องผ่านการฝึกอบรมตามขั้นตอน สวนมากเป็นคร, อาจารย์ของโรงเรียนที่มีกองลูกเสือตั้งอยู่ หรือบุคคลภายนอก (ประชาชนที่สนใจ) ที่เข้ารับการอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ลูกเสือ ด้วยการสมัครจนผ่านการอบรม จากนั้นจึงจะได้การรับรองโดยคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ เครื่องแบบของลูกเสือหญิงนี้จึงเหมือนกับลูกเสือทุกประการ ยกเว้นกระโปรง ถุงเท้า ฯลฯ ที่สวมใส่ได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น
ลูกเสือสำรอง
ลูกเสือ และเนตรนารีสำรอง
ลูกเสือสำรองมีคำปฏิญาณและกฎที่กำหนดไว้สำหรับลูกเสือสำรองโดยเฉพาะ เนื่องจากยังอยู่ในวัย
เด็ก คำปฏิญาณและกฎต้องง่ายแก่การท่องและจำ จนถึงง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมกับวัย
คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง คือ
ข้าสัญญาว่า…
ข้อ 1. ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2. ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
กฎของลกเสือสำรอง
1. ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
2. ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง
คติพจน์ : ทำดีที่สุด (Do Our Best)
ลูกเสือสามัญ
ลูกเสือ และเนตรนารีสามัญ
ต่อมาเมื่อเด็กมีอายุได้ ระหว่าง 11-17 ปี และเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จึงเลื่อนชั้นจากลูกเสือสำรองมาเป็นลูกเสือสามัญ
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
คติพจน์ : จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)
ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ลูกเสือ และเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
หลังจากลูกเสือสามัญฝึกฝนตามระเบียบแบบแผนอย่างครบถ้วน และมีอายุเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่าง 15-18 ปี ซึ่งก้าวเข้าสู่ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จึงสามารถเป็นลูกเสือสามัญร่นใหญ่
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
คติพจน์ : มองไกล (Look Wide)
ลูกเสือวิสามัญ
ลูกเสือ และเนตรนารีวิสามัญ
มีเกณฑ์อายุอยู่ระห่วาง 17-23 ปีและกำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษา
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
คติพจน์ : บริการ (Service)
ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคน และเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
ข้อ 1 “ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้” (A scouts is to be Trusted) ลูกเสือจะต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด มั่นคงอยู่ในคุณงามความดี ไม่ยอมแพ้แก่สิ่งยั่วยุหรืออำนาจฝ่ายต่ำ กระทำตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจแก่ผู้อื่นได้เสมอ
ข้อ 2 “ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ” (A scout is loyal) เป็นการยืนยันในคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้อย่างมีเกียรติ ด้วยการแสดงออก ปฏิบัติจริงทุกวิถีทาง เพื่อปกป้องสถาบันชาติ
สถาบันศาสนาและสถาบัยพระมหากษัตริย์ รวมถึงจะต้องยึดมั่นในความซื่อสัตย์กตัญญูต่อผู้มีพระคุณทุกท่าน
ข้อ 3 “ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น” (A scout duty is to be useful and to help others) ลูกเสือจะต้องเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว พร้อมอยู่เสมอที่จะบำเพ็ญประโยชน์และเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งหมายความว่าจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถ และพึ่งตนเองได้ด้วย
ข้อ 4 “ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก”
(Scout is a friend to all and a brother to every other Scout) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี มีจิตใจ โอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และชั้นวรรณะ รวมทั้งมีความตระหนักในหลักภารดรภาพคือ ความรู้สึกเสมือนเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ข้อ 5 “ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย” (A scout is Courteous) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มีกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยนอ่อนน้อม มีสัมมาภารวะต่อบุคคลทั่วไป ไม่ยกตนข่มท่าน
ข้อ 6 “ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์” (A scout is a Friend to animals) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาสงสารสัตว์ ไม่รังแกหรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเจ็บปวดหรือเมื่อพบสัตว์ได้รับความลำบากก็ต้องให้การช่วยเหลือมันจนพ้นภัย
ข้อ 7 “ลูกเสือต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาและผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ” (A scout obeys orders of his parents patrol leader of Scoutmaster with out question) ในฐานะที่บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ขึ้นมา รวมไปถึงบรรดาครู อาจารย์ และผู้บังคับบัญชาท่านเหล่านี้ล้วนเป็นที่ผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตมากว่าเรา ดังนั้น คำสอน ดำชี้แนะ หรือคำสั่งของท่านจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าลูกเสือจึงจะต้องเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามโดยฉับไว ไม่ลังเลใจ อันเป็นวินัยซึ่งเกิดจากภายในมิใช่เป็นการถูกบังคับให้กระทำ
ข้อ 8 “ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก” (A scout Smiles and under difficulties) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้มี่อาการยิ้มแย้มแจ่มใสและร่าเริงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ในความยากลำบากปานใดก็ตามก็จะไม่แสดงอาการย่อท้อให้เห็น
ข้อ 9 “ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์” (A scout is Thrifty) ลูกเสือจะต้องเป็นผู้รู้จักประหยัดทรัพย์ทั้งของตนและผู้อื่น รู้จักเก็บหอมรอมริบ สำหรับใช้บำรุงตนไม่เบียดเบียนผู้อื่นในเรื่องทรัพย์สินเงินทอง
ข้อ 10 “ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ” (A Scout is clean in thought word and deed) ลูกเสือจะต้องรู้จักสำรวมและระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้มีความอิจฉา ริษยา คิดเบียดเบียนหรือทำให้ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นเดือดร้อนและชำรุดเสียหาย รวมไปถึงการไม่พูดคำหยาบ คำเท็จ โดยพยายามยัดหลักว่า “สิ่งที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด” จะต้องไม่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเราได้ดำรงตนอยู่ในศิลธรรมอันดี มีความประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจแล้ว