พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ครั้นมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ ต่อจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงปฏิบัติราชภารกิจในฐานะกษัตริย์ ในหลายๆด้าน กิจการลูกเสือเป็นกิจการที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อันส่งผลในการกระตุ้นให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องมีความกระตือรือล้น ซึ่งนั่นเป็นการส่งสัญญาณว่ากิจการลูกเสือจะได้รับการฟื้นฟูให้กลับมามี ชีวิตชีวาอีกครั้ง เพียง 1 ปี หลังจากการขึ้นครองราชย์ รัฐบาลที่มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำ ได้ออกพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2490 ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2482 แต่มีสาระที่เพิ่มขึ้นคือ

กิจการยุวชนทหารจึงได้ถูกยุบลงไปโดยปริยาย ทำให้ลูกเสืออกลับมามีบทบาทในสังคมอีกครั้ง รวมทั้งได้ทรัพย์สินที่เคยถูกถ่ายโอนใหไปอยู่รวมกับยุวชนทหารกลับคืนมาด้วย

หลัง จากกิจการลูกเสือถูกปลุกให้ฟื้นคืนมา ก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือในโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ แม้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯเอง ก็ยังทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นในโรงเรียนจิตรลดา และโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจาฟ้าวชิราลงกรณฯ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารฯ) ทรงสมัครเข้าเป็นลูกเสือด้วย ในปี พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติอีก 1 ฉบับ เพื่อปรับ
ปุรงกฎหมายว่าด้วยกิจการลูกเสือให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์ยิ่งขึ้น

โดย มาตรา 5 กำหนดให้คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยลูกเสือทั้งปวง ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ และมาตรา 8 กำหนดใหพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 นั้นมีสิ่งที่บ่งบอกถึงพัฒนาการอันสำคัญของกิจการลูกเสือในประเทศ และนับเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีกิจการลูกเสือประเภทนี้ คือ การก่อตั้งกิจการลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งก่อตั้งในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ที่หมู่บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา กิ่งอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ด้วยการจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรม ลูกเสือชาวบานนั้นจะแต่งกายอย่างไรก็ได้ที่สุภาพเรียบร้อย ข้อสำคญต้องมีผ้าผูกคอ ว๊อคเกิ้ลรูปหน้าเสือ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลูกเสือรุ่นแรกที่หมู่บ้านเหล่ากอหกนั้น มีมุมผ้าผูกคอเป็นรูปพระแก้วมรกตเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงประชาชนในผืนแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเข้ารับการฝึกอบรมและเป็นลูกเสือชาวบ้านได้

นอกจากนี้กิจการลูกเสือของไทยยังก้าวหน้าทั้งในระดับชาติและระดับสากล เจ้าหน้าที่ลูกเสือของไทยมีโอกาสเข้าร่วมงานลูกเสือระดับโลก และขณะที่งานลูกเสือระดับโลกหลายงานก็มาจัดขึ้นที่เมืองไทยเช่นกัน และ พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกเสือนั้น ก็ไม่ใช่จะเพียงแค่รู้กันในหมู่คนไทย หากแต่ลูกเสือทั่วโลกก็ได้ยิน ได้ฟังและได้รู้ ในสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบติเช่นกัน และเหตุการณ์ที่โลกต้องจารึกไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ที่ทรงงานอันส่ง เสริมกิจการลูกเสือให้ก้าวหน้าพัฒนา คือการทูลเกล้าถวายเครื่องหมายวู๊ดแบดจ์ ชั้นพิเศษ 4 บีด ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จากศูนย์ฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือนานาชาติ กิลเวลล์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่เคยมีใครที่จะได้รับถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม และไม่เคยถวายแด่พระประมุขของประเทศใดเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นบุคคลแรกของโลกที่ได้รับเกียรตยศอันสูงส่งนี้ และอีกครั้งหนึ่งในปี มหามงคลการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวในโลก (ปี พ.ศ. 2549) ที่ทรงครองราชยสมบัติยาวนานที่สุด ประเทศไทยจึงได้มีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่และมีการเฉลิมฉลองกันทั้งปี

ขอขอบคุณภาพจาก ourking.in.th

ในวันที่ 20 มิถุนายน พระราชาธิบดี คาร์ล ที่ 16 กุสตาฟ (กษัตริย์) แห่งสวีเดน เสด็จมาเพื่อเข้าเฝ้าในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ ของมูลนิธิลูกเสือโลก (World Scout Foundation) เพื่อทูลเกล้าถวายอิสริยาภรณ์สดุดึลูกเสือโลก หรือ บอร์น วูฟ (The Bronze Wolf) ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปสุนัขจิ้งจอก สีบอร์น ประดับอยู่บนสายริบบิ้น พื้นคล้องคอสีเขียว ที่มีปลายสีเหลือง เป็นอิสริยาภรณ์ที่คณะกรรมการลูกเสือโลกพิจารณามอบให้เป็นเกียรตแก่บุคคลที่ มีผลงานโดดเด่นทางด้านการสนับสนุนกิจการลูกเสือ โดย BP ประมุขตลอดกาลของลูกเสือโลกเป็นผู้ริเริ่มในการมอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 และมีคนไทยเพียงไม่กี่คนที่เคยได้รับเครื่องหมายอันทรงเกิยรตินี้ โดยคนแรกที่ได้รับคือ นายอภัย จันทวิมล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2514

Loading